ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center
Time & Location
พฤศจิกายน 2567
โดยสถาบัน IMD
About the event
ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567
โดย IMD World Competitiveness Center
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 World Competitiveness Center แห่งสถาบัน IMD – International Institute for Management Development ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้เผยแพร่รายงานการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 ของ 67 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ โดยในปี 2567 นี้ มี 3 เขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมการจัดอันดับเพิ่มเติมจากปีที่แล้ว ได้แก่ กานา ไนจีเรีย และเปอร์โตริโก
การจัดอันดับนี้เป็นการวัดศักยภาพของประเทศในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนา หรือที่เรียกว่า “Digital Transformation” ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม โดยเป็นการวิเคราะห์ประเมินใน 3 ด้านคือ ความรู้ เทคโนโลยี และความพร้อมสำหรับอนาคต ซึ่งจากรายงานการจัดอันดับในปี 2567 แสดงให้เห็นว่า ประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลสูง เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมของตนเองมาก สะท้อนจากจำนวนการจดสิทธิบัตรของเทคโนโลยีขั้นสูง (High-tech patent grants) ความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญา (Strong enforcement of IP rights) และความมีประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์จาก e-governance (effective utilization of e-governance benefits)
ในปีนี้ เพื่อให้การจัดอันดับสะท้อนภาวการณ์ปัจจุบันด้านดิจิทัลมากขึ้น IMD ได้เพิ่มตัวชี้วัดใหม่ในมิติของธรรมาภิบาล ธุรกิจ และสังคม รวมถึง AI อีก 5 ตัวชี้วัด กล่าวคือ 1) Computer science education index 2) AI articles 3) AI Policies passed into law 4) Secure internet servers และ 5) Flexibility and adaptability ที่เป็นผลจากการสำรวจความเห็นของผู้บริหาร (EOS – Executive Opinion Survey) เกี่ยวกับความยืดหยุ่นและศักยภาพในการปรับตัวเมื่อต้องเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ ของบุคลากรในประเทศ
ทั้งนี้ ในรายงานผลการจัดอันดับในปีนี้ IMD ได้กล่าวถึงประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของแต่ละประเทศในยุคปัจจุบัน ได้แก่ ความไม่เท่าเทียมกันในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัล (Disparity in the development of digital infrastructure) ทั้งในระดับระหว่างประเทศและภายในประเทศ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical tensions) ที่ทำให้บางประเทศแข่งขันการเป็นผู้นำด้านดิจิทัลและเกิดการแบ่งแยกของ global digital governance และเป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือในด้านที่สำคัญ เช่น cyber security และ data privacy ซึ่งจะส่งผลถึงความไม่เท่าเทียมในการพัฒนาด้านดิจิทัลอีกทางหนึ่ง
Disclaimer:
By submitting your personal data to us online in our website, you agree to give us consent to use and disclose your personal data in accordance with this policy. If you do not agree with the terms and conditions of this Privacy Policy, you must immediately cease using and accessing this Website and any content, services or products contained in or available from this Website for which you need to provide personal information.