top of page
TMA-Grid-EditCS4_edited.png

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ประจำปี 2567 	โดย IMD World Competitiveness Center
ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ประจำปี 2567 	โดย IMD World Competitiveness Center

เวลา และสถานที่

จะกำหนดวันเวลาภายหลัง

จะกำหนดสถานที่ภายหลัง

ข้อมูล

ภาพรวมผลการจัดอันดับระดับโลก

ในปี 2567 IMD World Competitiveness Center ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ทำการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของ 67 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก* โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจความเห็นของผู้บริหาร  ณ ไตรมาสแรก ปี 2567 และข้อมูลเชิงประจักษ์ (Hard data) ปี 2567 ซึ่งยังคงจัดอันดับโดยประเมินเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) 2) ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) 3) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) และ 4) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

ภาพรวมของผลการจัดอันดับในปี 2567 นี้ พบว่าเขตเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงได้ในอนาคต จะต้องมีศักยภาพในการคาดการณ์และปรับตัวได้เร็วในโลกที่มีบริบทของการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับสร้างมูลค่าและความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ประชาชนได้ ซึ่งจะส่งผลให้เขตเศรษฐกิจสามารถเติบโตและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน (Sustainable) อย่างไรก็ตาม ความท้าทายหลักของโลกในปีนี้และอนาคต คือการเปลี่ยนผ่านไปสู่ เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low-carbon) และระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) การให้ความสำคัญและส่งเสริมความร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจที่เป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) ในเศรษฐกิจโลก รวมถึงการทำ Digital Transformation

ทั้งนี้ 3 แนวโน้มสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจในปี 2567 จากผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหาร (Executive Opinion Survey – EOS) ได้แก่ การนำ AI มาใช้ (AI adoption) ร้อยละ 55.1 ความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก (The risk of a global economic slowdown) ร้อยละ 52 และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical conflicts) ร้อยละ 36.1 แต่ความท้าทายขององค์กรปัจจุบัน คือ จะทำอย่างไรที่จะสามารถนำระบบ AI มาใช้อย่างถูกต้องในการพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรได้ โดยไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ และผลผลิตขององค์กร ยิ่งไปกว่านั้น คือการให้ความสำคัญกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม (Environment risks) ที่กำลังส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน แต่ผลสำรวจกลับอยู่ในอันดับท้าย ๆ

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ประจำปี 2567 สิงคโปร์สามารถกลับมาเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงสุด จาก 67 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก จากความแข็งแกร่งของภาคเอกชนและภาครัฐ ในปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) และประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) สวิตเซอร์แลนด์ อันดับ 2 ในปีนี้ ขยับขึ้นมาเล็กน้อย 1 อันดับจากปีที่แล้ว จากการพัฒนาด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) และประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) รวมถึงการที่ยังคงสามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) อันดับ 3 เดนมาร์ก ร่วงลงเล็กน้อย 2 อันดับจากปีที่แล้ว สืบเนื่องจากปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) ที่มีอันดับลดลง

นอกจากนั้น เป็นที่น่าสนใจว่า เขตเศรษฐกิจที่ได้รับการจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอันดับสูงสุด 10 อันดับแรก  ในปี 2567 ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเขตเศรษฐกิจขนาดเล็ก (Smaller Economies) เช่นเดียวกับปีก่อน แสดงให้เห็นว่าขนาดของเศรษฐกิจไม่มีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน ถึงแม้ว่าจะเป็นเขตเศรษฐกิจขนาดเล็กแต่ก็สามารถแข่งขันกับเขตเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ ทั้งนี้ เขตเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่ได้รับการจัดอันดับในอันดับ 4-10 ตามลำดับ ในปี 2567 ได้แก่ อันดับ 4 ไอร์แลนด์ ซึ่งลดลงจากอันดับ 2 ในปีที่แล้ว อันดับ 5 ฮ่องกง อันดับ 6 สวีเดน ที่ต่างขยับขึ้น 2 อันดับจากปี 2566 อันดับ 7 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดีขึ้น 3 อันดับจากปีก่อน อันดับ 8 ไต้หวัน ที่อันดับลดลง 2 อันดับ อันดับ 9 เนเธอร์แลนด์ ลดลง 4 อันดับจากปีที่แล้ว และอันดับ 10 นอร์เวย์ ที่อันดับดีขึ้น 4 อันดับจากปีก่อน

ที่น่าสนใจคือ เขตเศรษฐกิจที่เป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) มีการพัฒนาศักยภาพในด้านนวัตกรรม (Innovation) Digitalization และความหลากหลายในการลงทุน (Diversification)อย่างมาก จนเกือบจะเทียบเท่ากับเขตเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว โดยจะเห็นได้ว่า เขตเศรษฐกิจ เช่น จีน อินเดีย บราซิล อินโดนีเซีย และตุรกี มีการเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ผ่านมา และเป็นผู้เล่นสำคัญในด้านการค้า (Trade) การลงทุน (Investment) นวัตกรรม (Innovation) และภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ในขณะที่ มาเลเซีย (Malaysia) ไทย (Thailand) และชิลี (Chile) นั้น มีการพัฒนาเล็กน้อย ซึ่งเขตเศรษฐกิจเหล่านี้ ยังคงมีโอกาสใหม่ (New opportunities) และตลาด สำหรับธุรกิจและผู้บริโภคอยู่ รวมถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอนใหม่ ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย โดยหน่วยงานรัฐและธุรกิจทั่วโลกที่สนใจในตลาดเหล่านี้ ควรจะต้องทำความเข้าใจและปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม (Cultural) และสภาพแวดล้อมด้านกฎหมายและสถาบัน (Institutional and regulatory environment) ของเขตเศรษฐกิจเหล่านี้ โดยยังคงยึดถือไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานระดับโลกและความยั่งยืน

อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติม ได้ที่นี่ : Download

แชร์

​ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:

โดยการส่งข้อมูลส่วนบุคคลของคุณให้เราทางออนไลน์ในเว็บไซต์ของเรา คุณยินยอมให้เรายินยอมให้ใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตามนโยบายนี้ หากคุณไม่เห็นด้วยกับข้อกำหนดและเงื่อนไขของนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ คุณต้องหยุดใช้และเข้าถึงเว็บไซต์นี้ทันที และเนื้อหา บริการ หรือผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่มีอยู่ในหรือพร้อมใช้งานจากเว็บไซต์นี้ ซึ่งคุณจำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย

276 ซ.รามคำแหง 39 (เทพลีลา 1) ถ. รามคำแหง แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 ติดต่อ +662-319-7677 / +662-718-5601

bottom of page